• Burj Al Arab

    Burj Al Arab เป็นโรงแรมสุดหรูของดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมมิเรต มีความสูง 321 เมตร หรือ 1,050 ฟุต และเป็นโรงแรมที่สูงที่สุดอันดับที่ 3 ของโลก และมีความสูงเป็นอันดับที่ 57 ของโลก Burj Al Arab ตั้งอยู่บนเกาะที่ถมใหม่บนทะเล ขึ้นห่างจากชายฝั่งจูไมราบีช 280 เมตร และเชื่อมต่อด้วยสะพานที่มีลักษณะโค้ง มีลักษณะโครงสร้างการออกแบบเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของเมืองดูไบและตัวอาคารเลียนแบบมาจากใบของเรือใบ

  • Burj Khalifa

    Burj Khalifa ถือว่าเป็นตึกที่มีความสูงที่สุดในโลก มีความประสูงประมาณ 828 เมตร   เป็นตึกที่มีความโดดเด่นตั้งอยู่บริเวณใจกลางเมืองของดูไบ เริ่มก่อสร้างในปี 2004 และเปิดอย่างเป็นทางการในปี 2010 มีจำนวนชั้นทั้งหมด 163 ชั้น

  • Dubai Fountain

    Dubai Fountain หรือ น้ำพุแห่งดูไบ ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในโลกกก มีความยาวกว่า 270 เมตร หรือประมาณสนามฟุตบอล 2 และได้ใช้น้ำจำนวน 83,000 ลิตร พุ่งขึ้นไปบนอากาศสูงเท่ากับตึก 50 ชั้น!! และสามารถมองเห็นจากที่สูงไกลถึง 200 ไมล์

  • Dubai Aquarium

    นี่คือพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในร่มที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ได้รับการบันทึกโดยกินเนสว่าเป็น “แผงอะคริลิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก” Dubai Aquarium จัดแสดงสัตว์น้ำกว่า 33,000 ตัว กว่า 220 สายพันธุ์ รวมถึงฉลามและปลากระเบน อุโมงค์เดินลอดใต้กระจกให้คุณได้รับประสบการณ์ใกล้ชิดกับสัตว์น้ำใต้ทะเลที่ชวนให้หลงเสน่ห์อย่างไม่น่าเชื่อ

  • The Palm Islands

    หมู่เกาะต้นปาล์ม (The Palm Islands) เป็นโครงการก่อสร้างเกาะจำลองบริเวณอ่าวเปอร์เซีย ในดูไบ ในสหรัฐอาหรับเอมมิเรตโดยแต่ละเกาะจะมีลักษณะรูปร่างเหมือนต้นปาล์ม และล้อมรอบด้วยเสี้ยววงกลม โดยพื้นที่จะมีการจัดเป็นที่อยู่อาศัย และรีสอร์ท การพัฒนานี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศ   เวลาที่ใช้ในการก่อสร้างนี้ใช้เวลาทั้งหมด 7 ปี หมู่เกาะต้นปาลม์ถือว่าเป็นโครงการในการสร้างเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจะมีการก่อสร้างทั้งหมด 3 โครงการ คือ The Palm Jumeirah, The Palm Jebel Ali และ The Palm Diera

  • Atlantis The Palm

    แอตแลนทิส เดอะปาล์ม (Atlantis The Palm) คือนิยามใหม่ของรีสอร์ทที่เป็นจุดหมายปลายทาง ด้วยสถานที่ตั้งบนเกาะปาล์มที่เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ที่พักแห่งนี้จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของดูไบอย่างรวดเร็ว และเป็นหนึ่งในจุดสังเกตที่ ‘ต้องชม’ ของเมือง ห้องสวีทใต้น้ำที่เห็นสัตว์ทะเลอย่างใกล้ชิด, เครื่องเล่นของ Aquaventure Waterpark, ความลี้ลับของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ Lost Chambers Aquarium รวมทั้งบาร์และร้านอาหารที่ได้รับรางวัลหลายแห่ง ล้วนสร้างสรรค์ช่วงเวลาที่พิเศษให้อยู่ในความทรงจำไปตลอด ผู้เข้าพักของแอตแลนทิส เดอะปาล์มมีสิทธิ์ใช้บริการสวนน้ำที่ใหญ่ที่สุดได้ฟรีโดยไม่จำกัดที่ Middle East ‘Aquaventure Waterpark’ และ The Lost Chambers Aquarium ที่มีสัตว์ทะเลมากกว่า 65,000 ตัว

  • Dubai Museum

    พิพิธภัณฑ์ดูไบ พิพิธภัณฑ์ที่มีความทันสมัยในตะวันออกกลาง สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 19 บูรณะครั้งล่าสุดปี 1970 เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมเรื่องราวสำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น การค้นพบงานศิลป์ ในหลุมฝังศพที่ AL QUSAIS ที่มีอายุถึง 4,000 ปี และเรื่องราวการค้าขายมุก ในประวัติศาสตร์ก่อนการค้นพบน้ำมัน และท่านจะประทับใจกับการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาถ่ายทอดเพื่อบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของอาหรับโบราณ จุดประสงค์ในการก่อสร้างเพื่อที่จะแสดงถึงวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวดูไบที่ได้ทำการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศทั้งอัฟริกาและเอเชีย ในสมัยโบราณ

  • Gold and Spice Souk

    ตลาดค้าทองที่มีชื่อเสียงระดับโลก แห่งนี้เต็มไปด้วยโลหะและอัญมณีที่ส่องแสงสว่างไสวอยู่ภายในตู้กระจกของร้านค้านับร้อยรายที่ Gold Souk ตลาดที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่จะนำทุกท่านมาสัมผัสกับความวุ่นวายแต่เต็มไปด้วยสีสัน ภายในตลาดเก่าแก่แห่งนี้ อีกทั้งยังเป็นศูนย์รวมผ้าไหม น้ำหอมและเครื่องเทศนานานาชนิดที่ Spice Souk

.
  • The Dubai Mall

    Financial Centre Road, Downtown Dubai - Dubai +971 800 382246255

    The Dubai Mall  is a shopping mall in Dubai and the largest mall in the world by total area. It is the nineteenth largest shopping mall in the world by gross leasable area.

  • Mall of Emirates

    Sheikh Zayed Road, Dubai, United Arab Emirates +971 4 409 9000

    Mall of the Emirates, the world’s first shopping resort, is located in Dubai at interchange four on Sheikh Zayed Road. The multi-level shopping centre currently features around 630 international brands with a total gross leasable area (GLA) of 233,467 sqm including department stores, fashion, lifestyle, sports, electronics and home furnishing outlets and the largest Carrefour in the city.

  • Global Village

    Exit No.37, Sheikh Mohammed Bin Zayed Road - Dubai +971 4 362 4114

    Global Village Dubai is a leading family entertainment and cultural attraction in the region that offers a unique shopping experience with its 30 pavilions, each representing a different country. Global Village offers several dining, shopping, and entertainment options for visitors to choose from. As far as family entertainment is concerned, Global village offers the best with shows ranging from stunt/thrill shows, bespoke shows, street performances, and cultural shows from across the world, packing every minute full of entertainment.

  • Souk Madinat Jumeirah

    Jumeirah Road, Dubai +971 4 366 8888

    Souk Madinat Jumeirah combines traditional Middle Eastern shopping culture of stands, barrows and stalls with a mix of boutique brands, home accessory stores, souvenir gift shops, luxury fashion and jewellery. It is also the home to over 24 restaurants offering cuisines from all over the globe, including Italian, Asian, Indian, Persian, traditional Arabic and Lebanese, French and American. All Souk Madinat Jumeirah restaurants and cafés have picture perfect views of the Arabian architecture, waterways or the iconic Burj Al Arab Jumeirah. Not only can you spend the day shopping and dining, but Souk Madinat Jumeirah also provides tourists with various entertainment activities, from showstopping performances at the Madinat Theatre, to Abra Tours of the stunning water canals and an exciting nightlife.

  • Dubai Marina Mall

    Sheikh Zayed Rd - Dubai +971 4 436 1020

    With a glorious waterfront location, Dubai Marina Mall is a small and relaxed shopping mall that’s loaded with promenade cafes and restaurants. With 130 outlets across four levels, it’s a manageable size and has an easygoing, airy ambience.

  • Taxis

    Taxis are the most important mode of transportation and are available almost all over the UAE, for a relatively cheap price compared to other major cities. The UAE has a well-organized system, and in Dubai the taxis are regulated by the government. Most of the taxis have a fare meter, which calculates the amount you’ll have to pay for your journey. The fare per kilometer is fixed at around 1.60 AED per minute. The fixed starting fare is about 3 or 4 AED; if you take a taxi from the airport it’s 20 AED. You can find several taxi stands throughout the cities, around various stations, and outside the airports. These stands make it easy to find a taxi, but you can also just stop one on the street.
  • Buses 

    Taxis aren’t the only important modes of transportation in the UAE. Buses are also very important for the public transportation network. Except for in Dubai and Abu Dhabi, they are even the only mode of public transportation in the Emirates. The biggest bus networks are in Dubai and Abu Dhabi; Dubai has 112 routes and Abu Dhabi has 75. The bus networks in the other emirates mainly consist of buses connecting the emirates with each other. You can use the Nol, Hafilat, and Sayer cards (see below) to pay for the buses in Dubai, Abu Dhabi, and Sharjah, respectively.
  • Metros and Trams

    The Dubai Tram is the newest mode of transportation in Dubai. The service started operating in November 2014 and immediately became a big success. At the moment, the track is 10.6 km long and serves eleven stations with two lines. Another 4 km is planned to be added to the network, together with eight more stations. From Saturday to Thursday the trams operate from 06:30 to 01:38, on Friday they start at 09:00. The Dubai Metro has been around a little longer, since 2009. The network also has two lines — a red line and a green line — covering 70 km and 49 stations. The red line stops at stations between Rashidiya (close to Dubai International Airport) and UAE Exchange, while the green line runs from Etisalat Metro Station to Dubai Healthcare Center.
  • Hassle

    Paying for public transportation always seems to be a hassle. There are some things that can make the process easier for you in the UAE. In Dubai, Abu Dhabi, and Sharjah you can purchase a special card which you can use to pay for public transportation.
  • Abras and Ferries

    The Dubai abras are small motorized water taxis that take you over the Dubai Creek. There are two routes: route one goes from Deira Old Souk Abra Station to Bur Dubai Abra Station and route two goes from Sabkha Abra Station back to the starting station. A trip takes about five to seven minutes and costs 1 AED. Route one operates from 05:00 to midnight; route two is available 24 hours a day.


Top Dishes in Dubai

Dubai is the best place to sample all types of Gulf and Middle Eastern Cuisine, including Iranian, Lebanese and Arabic food.


  • 1 Stuffed Camel

    Stuffed Camel

    Major ingredients of this dish encompass whole camel, one lamb, 20 chickens, boiled eggs, fish and rice. In order to cook they stuffed whole camel with other major ingredients.

  • 2 Al Harees

    Al Harees

    It has made up of meat and wheat. It is very simple and elegant dish with very few ingredients but with longer cooking duration. This dish commonly served during Ramadan, wedding and Eid festivals. Wheat and meat with a pinch of salt cooked together in boiling water for hours until the both components of this mixture make smooth paste that will be further cooked in a covered clay pot with coal almost overnight.

  • 3 Shawarma

    Shawarma

    Even it has also become famous in Asian countries as well. It can be made with lamb or chicken. Different restaurants serve this dish in different manner. Commonly they mix garlic sauce, pickles, fries and tomatoes and wrap it in Arabic Roti. This dish is more like kebab. Taste and preparation method can be different from one place to other.

  • 4 Hummus

    Hummus

    It is not actually a dish, rather it is a famous dip made from chickpeas, olive oil, lemon juice, tahini paste, salt and garlic. It is served with other dishes like Shawarma and pita bread. It is also a perfect appetizer. It is very unique in taste.

ข้อแนะนำในการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและติดต่อธุรกิจ

ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

1.  กฎหมายเข้าเมือง

                                1.  คนไทยต้องขอวีซ่าก่อนเดินทางเข้ายูเออี และการขอวีซ่าจะต้องมีผู้อุปถัมภ์ (sponsor) โดยจำแนกประเภทวีซ่าได้ดังนี้

                                     1.1  Special Mission Entry Visa หรือ Entry Service Permit -  สามารถ พำนักในยูเออีได้ 14 วัน และไม่สามารถขยายระยะเวลาพำนักได้ สามารถขอได้โดยมีโรงแรม บริษัทท่องเที่ยว หรือหน่วยงานในยูเออีเป็นผู้อุปถัมภ์

                                     1.2  Visit Visa -  สามารถ พำนักได้ 60 วัน และขยายระยะเวลาได้ แต่รวมเวลาพำนักในยูเออีแล้วจะต้องไม่เกิน 90 วัน สามารถขอได้โดยมีโรงแรม บริษัทท่องเที่ยว หน่วยงานหรือบุคคลใน

ยูเออีที่มีคุณสมบัติตามระเบียบของยูเออีเป็นผู้อุปถัมภ์

                                     1.3  Tourist Visa -  สามารถพำนักได้ 30 วัน และไม่สามารถขยายระยะเวลาได้ สามารถขอได้โดยมีโรงแรมหรือ2บริษัทท่องเที่ยวเป็นผู้อุปถัมภ์

                                     1.4  Transit Visa -  สำหรับ ผู้เดินทางผ่านที่จะต้องอยู่ในยูเออีอย่างน้อย 8 ชม. โดยผู้มีวีซ่าประเภทนี้จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในยูเออี 96 ชม. มีสายการบินเป็นผู้อุปถัมภ์ในการดำเนินการขอวีซ่า

                                     1.5  Multiple Entry Visa -  สำหรับ ผู้ที่ติดต่อธุรกิจกับบริษัทที่มีชื่อเสียงในยูเออีและจะต้องเดินทางเข้ายู เออีบ่อยครั้ง วีซ่ามีอายุ 6 เดือน สามารถพำนักได้ครั้งละ 30 วัน ไม่สามารถขยายระยะเวลาพำนักได้ ทั้งนี้จะต้องเดินทางเข้าประเทศโดย Visit Visa ก่อน เพื่อดำเนินการขอวีซ่าประเภทนี้

-------------------------------------

การขอรับการตรวจลงตรา (วีซ่า) เข้ายูเออี

1. ข้อกำหนดทั่วไป : ผู้ยื่นขอรับการตรวจลงตรา

1.1 จะต้องมีหนังสือเดินทางหรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทางที่ถูกต้องสมบูรณ์ กล่าวคือ  ยังไม่หมดอายุการใช้งาน (มิได้มีการระบุอย่างชัดเจน ว่า จะต้องมีอายุการใช้งานเหลืออยู่ไม่น้อยกว่ากี่เดือน)  ไม่อยู่ในสภาพที่ชำรุดเสียหายจนใช้การไม่ได้ และจะต้องเป็นเอกสารเดินทางที่สามารถใช้เดินทางกลับประเทศที่ออกเอกสารเดินทางดังกล่าวได้

1.2 จะต้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเดินทางเข้าประเทศยูเออี

1.3 จะต้องไม่เป็นบุคคลที่เคยถูกเนรเทศออกนอกประเทศยูเออี

1.4 จะต้องมีหน่วยราชการ/องค์กรธุรกิจในยูเออี หรือคนชาติยูเออี หรือชาวต่างชาติที่มีถิ่นพำนักในยูเออีเป็นผู้อุปถัมภ์ (สปอนเซอร์) ในการยื่นขอวีซ่าทุกประเภท

2. การยื่นขอวีซ่า สามารถดำเนินการได้ 3 ช่องทาง คือ

1) ยื่นขอด้วยตนเองผ่าน สอท. ยูเออีประจำประเทศไทย (โดยมีเอกสารรับรองจากผู้อุปถัมภ์)

    สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประจำประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ

    82 อาคารแสงทองธานี ชั้น 25 ถนนสาธรเหนือ

    เขตสาธร กทม. โทร. 02-6399820-4

2) ยื่นขอโดยหน่วยราชการ/องค์กรธุรกิจในยูเออี หรือคนชาติยูเออี หรือชาวต่างชาติที่มีถิ่นพำนักในยูเออี ในฐานะผู้อุปถัมภ์ ผ่านกรมการสัญชาติและถิ่นที่อยู่ กระทรวงมหาดไทย

Abu Dhabi Naturalization & Residence Directorate (ADNRD) ตั้งอยู่ ณ

Al Saada Road, Al Mushref Abu Dhabi P.O. Box: 4333

Phone: +971 2 446 2244 - 6005 22222

Fax: +971 2 446 1621

Website: http://www.moieserv.ae

3) ยื่นขอโดยสายการบิน หรือโรงแรม ในฐานะผู้อุปถัมภ์ แทนผู้เดินทาง

3. การตรวจลงตราของยูเออี ที่คนไทยทั่วไปอาจยื่นขอได้มี 9 ประเภท ดังนี้

  1. ประเภทเยี่ยมเยือน (Visit Visa)
  2. ประเภทท่องเที่ยว (Tourist Visa)
  3. ประเภทติดต่อธุรกิจ ( Special Mission Entry Visa )
  4. ประเภททำงานชั่วคราว (Work Mission Visa)
  5. ประเภทเดินทางผ่าน (Transit Visa)
  6. ประเภทขอมีถิ่นที่อยู่ (Resident Visa)
  7. ประเภททำงานตามสัญญาจ้าง ( Employment Visa/Permit)
  8. ประเภทธุรกิจเข้าออกได้หลายครั้ง (Multiple Entry Visa)
  9. ประเภทราชการ/อัธยาศัยไมตรี (Special Entry Visa)
  1. การตรวจลงตราประเภทเยี่ยมเยือน หรือ Visit Visa

เป็น การตรวจลงตราของยูเออีให้แก่ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศเพื่อวัตถุ ประสงค์ในการเยี่ยมญาติหรือเพื่อนที่มีถิ่นพำนักในยูเออี หรือเพื่อการเยี่ยมเยือนหน่วยงานของยูเออีหรือบริษัทเอกชนในยูเออี หรือเพื่อการท่องเที่ยวโดยจะต้องมีบุคคลหรือหน่วยงานที่จะได้รับการเยี่ยม เยือนหรือองค์กรด้านการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องของยูเออีเป็นผู้อุปถัมภ์การ เยือน

การยื่นขอ Visit Visa มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

1) กรณีการเดินทางเข้ายูเออีเพื่อเยี่ยมญาติหรือเพื่อนที่มีถิ่นพำนักในยูเออี ผู้ยื่นขอจะต้องเป็นสามาชิกในครอบครัวหรือญาติใกล้ชิดของผู้ที่มีถิ่นพำนัก ในยูเออี โดยผู้ร้องจะต้องแสดงหลักฐานการเป็นสามาชิกครอบครัวหรือเครือญาติต่อหน่วย งานที่ยื่นขอรับการตรวจลงตรา

2) กรณีเดินทางเข้ายูเออีเพื่อเยี่ยมเพื่อน ผู้ยื่นขอจะต้องมีคนชาติยูเออีเป็นผู้อุปถัมภ์ในการยื่นขอรับการตรวจลงตรา

3) กรณี เดินทางเข้ายูเออีเพื่อเยี่ยมบริษัทจะต้องมีหนังสือเชิญจากหน่วยงานของยูเอ อีหรือบริษัทเอกชนดังกล่าวแสดงต่อหน่วยงานที่ยื่นขอรับการตรวจลงตรา

ทั้งนี้  การยื่นขอ Visit Visa สามารถดำเนินการได้ใน 2 วิธีการ คือ (1) ผู้อุปถัมภ์การเยือนเป็นผู้ยื่นขอรับการตรวจลงตราแทนผู้ดเนทางที่กรมการสัญชาติและถิ่นที่อยู่ หรือ (2) ผู้เดินทางสามารถยื่นขอรับการตรวจลงตราที่สถานเอกอัครราชทูตยูเออีประจำประเทศไทย

ผู้ได้รับการตรวจลงตรา ประเภทVisit Visa จะเดินทางเข้ามายังยูเออีภายใน 2 เดือน นับจากวันได้รับการตรวจลงตรา โดยจะได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในยูเออีเป็นเวลา 30 วัน และขยายเวลาการพำนักในยูเออีได้ที่กรมการสัญชาติและถิ่นที่อยู่ อีก 2 ครั้งๆ ละ 30 วัน

ผู้ได้รับการตรวจลงตราประเภท Visit Visa ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานใดๆ ในระหว่างที่พำนักอยู่ในยูเออี ยกเว้น กลุ่มบุคคลที่มีอาชีพดังต่อไปนี้ 1. วิศวกร  2. แพทย์ พยาบาล เภสัชกร   หรือผู้เชี่ยวชาญทางการเเพทย์  3. ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร 4. ครู 5. นักการบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี        6. ผู้เชี่ยวชาญด้านอิเล็กทรอนิกส์และการทดลอง 7. พนักงานขับรถบรรทุกหรือพนักงานขับรถบัส 8. เจ้าหน้าที่บริษัทน้ำมัน ซึ่งยูเออีจะอนุญาตให้สามารถเปลี่ยน Visit Visa เป็น Employment Visa ได้หลังจากเดินทางเข้ามาอยู่ในยูเออีแล้ว

  1. การตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยว หรือ Tourist Visa

                เป็น การตรวจลงตราที่ออกให้แก่นักท่องเที่ยวเท่านั้นโดยจะต้องมีสำนักงานท่อง เที่ยว หรือบริษัท หรือโรงแรมในยูเออีเป็นผู้อุปถัมภ์และเป็นผู้ยื่นขออนุมัติการตรวจลงตรา ประเภทนี้ให้แก่นักท่องเที่ยวที่ใช้บริการขององค์กรของตนต่อกรมการสัญชาติ และถิ่นที่อยู่

ผู้ได้รับการตรวจลงตราประเภทนี้สามารถพำนักอยู่ในยูเออีได้ ๓๐ วันเท่านั้น โดยไม่อนุญาตให้มีการขยายเวลาการพำนักออกไปได้อีก

  1. การตรวจลงตราประเภทติดต่อธุรกิจ หรือ Special Mission Entry Visa

                เป็น การตรวจลงตราของยูเออีที่ออกให้เฉพาะสำหรับกลุ่มบุคคล ดังต่อไปนี้ จะต้องเดินทางเข้ามาปฏิบัติหน้าที่เร่งด่วนทางธุรกิจกับองค์กรของรัฐหรือ บริษัทเอกชนในยูเออี

  1. นักธุรกิจ
  2. ผู้จัดการบริษัทหรือตัวแทน ผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้ตรวจสอบบัญชี
  3. ตัวแทนบริษัทหรือองค์กรการค้าที่ติดต่อสัมพันธ์ทางการค้ากับบริษัทในยูเออี
  4. วิศะกร แพทย์ ทนายความ หรือผู้เชี่ยวชาญพิเศษในสาขาต่างๆ
  5. สมาชิกครอบครัวของบุคคลที่กล่าวมาแล้วตามข้อ 1-4

ผู้ ที่จะยื่นขอรับการตรวจลงตราประเภทนี้จะต้องแสดงบัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับ และจะต้องมีองค์กรหรือบริษัทในยูเออีเป็นผู้อุปถัมภ์ในการยื่นขอรับการตรวจ ลงตราที่สนามบินระหว่างประเทศของยูเออี ล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง ก่อนที่บุคคลดังกล่าวจะเดินทางถึงยูเออี

ผู้ ที่ได้รับตรวจลงตราประเภทนี้ สามารถได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในยูเออีได้เพียง 14 วันเท่านั้น และจะต้องเดินทางออกในทันทีที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว

3.4       การตรวจลงตราประเภททำงานชั่วคราว หรือ Work Mission Visa

                เป็นการตรวจลงตราประเภทใหม่ที่กระทรวงแรงงานและกระทรวงมหาดไทยยูเออีเป็น        ผู้ พิจารณาอนุมัติการตรวจลงตราให้กับบุคคล/คนงานทุกประเภทที่บริษัทเอกชนในยูเอ อีประสงค์จะนำบุคคลดังกล่าวเข้ามาทำงานกับบริษัทในโครงการใดโครงการหนึ่งที่ มีลักษณะเป็นครั้งคราวหรือเป็นฤดูกาล โดยมีกำหนดระยะเวลาการพำนักอยู่ในยูเออีที่แน่นอน

ทั้งนี้ บริษัทนายจ้างในยูเออีจะต้องเป็นผู้ดำเนินการยื่นขอรับการตรวจลงตราแบบ Work Mission Visa นี้ต่อกระทรวงแรงงานและกระทรวงมหาดไทยยูเออีให้กับบุคคลดังกล่าวที่จะเข้ามา ทำงานกับบริษัท โดยจะต้องแสดงหลักฐานการจ้างงานต่อกระทรวงแรงงานและกระทรวงมหาดไทยประกอบคำ ร้องขอรับใบอนุญาตทำงาน (วีซ่า) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว บริษัทนายจ้างจะส่งใบอนุญาตดังกล่าวให้บุคคลดังกล่าวเพื่อแสดงต่อเจ้า หน้าที่ ณ ช่องตรวจคนเข้าเมือง ที่สนามบินเมื่อเดินทางถึงยูเออี

ผู้ที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทนี้ จะต้องเดินทางเข้ามาในยูเออีภายใน 60 วัน นับจาก   วัน ที่ได้รับอนุมัติ โดยสามารถพำนักและทำงานในยูเออีได้ไม่เกิน 90 วัน และสามารถขยายเวลาได้อีก 90 วัน หลังจากนั้น จะต้องเดินทางออกจากยูเออี หากมิได้มีการว่าจ้างให้ทำงานกับบริษัทที่เป็นผู้อุปถัมภ์การเดินทางต่อใน ลักษณะถาวร

3.5       การตรวจลงตราประเภทเดินทางผ่าน หรือ Transit Visa

เป็น การตรวจลงตราที่ออกให้แก่ชาวต่างชาติที่แวะรอเปลี่ยนเครื่องบินที่สนามบิน ระหว่างประเทศของยูเออี ซึ่งกรมการสัญชาติและถิ่นที่อยู่จะอนุญาตให้พำนักในยูเออีได้ไม่เกิน ๙๖ ชั่วโมง หรือ ๔ วัน โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ แต่ทั้งนี้ สายการบินที่ผู้โดยสารคนดังกล่าวใช้บริการจะต้องรับเป็นผู้อุปถัมภ์ให้แก่ ผู้เดินทางคนดังกล่าว รวมทั้งผู้โดยสารดังกล่าวจะต้องมีบัตรโดยสารเครื่องบินสำหรับเดินทางต่อไป ยังประเทศที่สามแสดงเป็นหลักฐานด้วย

3.6       การตรวจลงตราประเภทขอมีถิ่นที่อยู่ หรือ Resident Visa

เป็นการตรวจลงตราที่ออกให้แก่ชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเข้ามาพำนักอยู่ในยูเออี เพื่อ

  1. ติดตามครอบครัว
  2. ศึกษาต่อในยูเออี
  3. ฝึกอบรมในหน่วยงานของรัฐ  

                ในกรณีของชาวต่างชาติที่มีถิ่นพำนักในยูเออีมีความประสงค์ที่จะนำบุคคลในครอบครัว  เข้า มาพำนักในในยูเออีด้วย จะต้องแสดงหลักฐานความเกี่ยวพันธ์ทางครอบครัวต่อกรมการสัญชาติและถิ่นที่ อยู่ หรือผ่านสถานเอกอัครราชทูตยูเออีประจำประเทศไทย โดยมี เงื่อนไขว่า ชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเป็นผู้อุปถัมภ์เพื่อนำบุคคลในครอบครัวของตนเองมา อยู่ด้วยนี้ จะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า เดือนละ 3,000 ดีแรห์ม หากเป็นกรณีที่นายจ้างจัดที่พักอาศัยให้ หรือไม่ต่ำกว่าเดือน 4,000 ดีแรห์ม หากเป็นกรณีที่ผู้อุปถัมภ์ต้องรับผิดชอบในการจัดหาที่พักอาศัยด้วยตนเอง

3.7      การตรวจลงตราประเภททำงานตามสัญญาจ้าง หรือ Employment Visa/Permit

                เป็น การตรวจลงตราที่ออกให้กับชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในยูเออี เพื่อทำงานกับบริษัทเอกชนหรือภาครัฐ โดยกรมการสัญชาติและถิ่นที่อยู่เป็นผู้มีอำนาจในการให้การตรวจลงตรา โดยมีหลักเกณฑ์ในการยื่นขอ ดังนี้

                1) ในกรณีที่ผู้อุปถัมป์เป็นองค์กรหรือบริษัทเอกชน จะต้องยื่นขออนุมัติตำแหน่งงานเพื่อจ้างชาวต่างชาติจากกระทรวงแรงงานก่อน แล้วจึงนำไปยื่นขอรับใบอนุญาตการจ้างงานจากกรมการสัญชาติและถิ่นที่อยู่ กระทรวงมหาดไทยยูเออี เพื่อนำใบอนุญาตการจ้างงานนี้มาแสดงที่ช่องตรวจคนเข้าเมือง ณ สนามบิน เมื่อเดินทางมาถึงยูเออี

                2) ในกรณีที่ผู้อุปถัมภ์เป็นหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตการจ้างงานได้โดยตรงจากกรมการสัญชาติและถิ่นที่อยู่ กระทรวงมหาดไทยยูเออี เพื่อนำใบอนุญาตการจ้างงานนี้มาแสดงที่ช่องตรวจคนเข้าเมือง ณ สนามบิน เมื่อเดินทางมาถึงยูเออี

2.8     การตรวจลงตราประเภทธุรกิจเข้าออกได้หลายครั้ง หรือ Multiple Entry Visa

                สำนักตรวจคนเข้าเมืองยูเออีและสถานเอกอัครราชทูตยูเออีประจำประเทศไทย สามารถพิจารณาอนุมัติการตรวจลงตราประเภท Multiple Entry Visa ให้กับคนต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้าออกยูเออีเป็นประจำเพื่อติดต่อ ธุรกิจกับบริษัทในยูเออีได้ โดยผู้ยื่นขอรับการตรวจลงตราประเภทนี้ จะต้องมีหนังสือรับรองจากบริษัทเอกชนที่เป็นผู้อุปถัมภ์เพื่อยืนยันถึงวัตถุ ประสงค์ของการเดินทางเข้ายูเออีเพื่อติดต่อธุรกิจ โดยผู้ได้รับการตรวจลงตราประเภทนี้มีอายุ 6 เดือน โดยสามารถเดินทางเข้า-ออกยูเออีได้หลายครั้งๆ ละไม่เกิน 30 วัน

2.9       การตรวจลงตราประเภทราชการ/อัธยาศัยไมตรี หรือ Special Entry Visa

                เป็น การตรวจลงตราที่กระทรวงมหาดไทยยูเออีพิจารณาอนุมัติให้แก่ข้าราชการหรือ บุคคลต่างๆ ที่กระทรวงฯ เห็นสมควร ในลักษณะของอัธยาศัยไมตรีระหว่างประเทศ  โดยผู้ได้รับการตรวจลงตราประเภทนี้สามารถพำนักอยู่ในยูเออีได้ไม่เกิน 30 วัน

ทั้ง นี้ สามารถยื่นขอรับการตรวจลงตราประเภทนี้ได้ที่สถานเอกอัครราชทูตยูเออีประจำ ประเทศไทย โดยจะต้องมีหนังสือนำทางการทูตหรือหนังสือรับรองจากหน่วยงานราชการของยูเออี เพื่อใช้ประกอบการยื่นขอรับการตรวจลงตราด้วย

รายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขอื่นๆ และค่าธรรมเนียมวีซ่าแต่ละประเภท โปรดดูใน

http://www.abudhabi.ae/Sites/Portal/Citizen/EN/departments,did=11308.html

                                                                             ..........................................

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี

27 พฤษภาคม 2551

ระเบียบวีซ่าใหม่ของยูเออี มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๑

เมื่อวันที่ ๘ มิ.ย. ๒๕๕๑ สื่อมวลชนยูเออีได้รายงานข่าวการให้สัมภาษณ์ของ พลตรี Mohammed al Khaili อธิบดีกรมการสัญชาติและถิ่นที่อยู่ (NRD) ก.มหาดไทย ยูเออี เกี่ยวกับการปรับปรุงระเบียบและค่าธรรมเนียมวีซ่าของยูเออี ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ ตาม มติ ครม.ที่ ๑๖/๒๐๐๘

โดยการปรับปรุงดังกล่าว มีรายละเอียดและผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจไทยที่จะเดินทางเข้ามายังยูเออีโดยสังเขป ดังนี้

1. เพิ่มประเภทของวีซ่าใหม่อีก ๔ ประเภท คือ วีซ่าการศึกษา วีซ่าการแพทย์ วีซ่านิทรรศการและการประชุม และวีซ่าแขกของรัฐ

1.1 วีซ่า การศึกษา สำหรับการเข้าร่วมหลักสูตรศึกษาฝึกอบรมระยะสั้นที่มีกำหนดเวลาแน่นอน โดยสถาบันการศึกษาที่ได้รับอนุญาตจะต้องเป็นผู้ยื่นขอวีซ่าประเภทนี้ให้แก่ บุคคลดังกล่าว มีค่าธรรมเนียม ๑,๐๐๐ ดีแรมห์ (๑ ดีแรมห์ เท่ากับประมาณ ๙ บาท) สำหรับระยะเวลา ๖๐ วัน และสามารถขยายระยะเวลาได้อีก ๒ ครั้งโดยมีค่าธรรมเนียมอีก ครั้งละ ๕๐๐ ดีแรมห์

1.2 วีซ่า การแพทย์ ออกให้แก่ผู้ที่เดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลในยูเออี ค่าธรรมเนียม ๑,๐๐๐ ดีแรมห์ พำนักอยู่ได้ ๓ เดือน และสามารถขยายเวลาได้อีก ๓ เดือน ค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก ๕๐๐ ดีแรมห์

1.3 วีซ่า นิทรรศการและการประชุม จะออกให้แก่ผู้เดินทางมาเข้าร่วมนิทรรศการและการประชุม ในยูเออี สามารถพำนักอยู่ได้ ๑ เดือน โดยไม่สามารถขอขยายระยะเวลาได้อีก โดยผู้จัดงานดังกล่าวจะต้องเป็น     ผู้ ยื่นเรื่องขอวีซ่าแทนผู้เดินทาง มีค่าธรรมเนียม ๑๐๐ ดีแรมห์ และเงินประกันอีก ๑,๐๐๐ ดีแรมห์ ซึ่งจะคืนให้เมื่อบุคคลดังกล่าวได้เดินทางออกจากยูเออีภายในกำหนดเวลา

1.4 วีซ่าแขกของรัฐ จะออกให้แก่ผู้ที่เป็นแขกของหน่วยงานของรัฐ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมและ   ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะเวลาพำนัก

2. วีซ่าเยี่ยมเยืยน (Visit Visa) เพื่อการเยี่ยมและพำนักอยู่กับญาติหรือเพื่อน มีการจำแนกออกเป็น ๓ ประเภท คือ (๑) ระยะสั้นชนิดอยู่ได้ ๓๐ วัน ค่าธรรมเนียม ๕๐๐ ดีแรมห์ (๒) ระยะยาว ชนิดอยู่ได้ ๙๐ วัน มีค่าธรรมเนียม ๑,๐๐๐ ดีแรมห์ และ (๓) วีซ่าเยี่ยมเยียน แบบเข้าออกได้หลายครั้ง ใน ๖ เดือน ซึ่งเดิมมีค่าธรรมเนียม ๑,๐๐๐ ดีแรมห์ พำนักอยู่ได้ ๓๐ วัน นั้น ได้มีการปรับค่าธรรมเนียมขึ้นป็น ๒,๐๐๐ ดีแรมห์ แต่ลดระยะเวลาพำนักลงเหลือครั้งละไม่เกิน ๑๔ วันเท่านั้น ทั้งนี้ วีซ่าเยี่ยมเยียน ๓ ประเภทนี้ ไม่สามารถขยายเวลาการพำนักได้

3. วีซ่า ท่องเที่ยว มีค่าธรรมเนียม ๑๐๐ ดีแรมห์ พำนักอยู่ได้ ๑ เดือน และสามารถขยายเวลาได้อีก ๑ เดือน โดยเสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม ๕๐๐ ดีแรมห์ โดยวีซ่าท่องเที่ยวนี้ จะออกให้แก่นักท่องเที่ยวผ่านโรงแรมหรือบริษัทท่องเที่ยวที่จดทะเบียนกับทาง การยูเออีเท่านั้น ซึ่งจะเสียค่าจดทะเบียน รายละ ๗๕,๐๐๐ ดีแรมห์ และต้องวางเงินประกันการออกวีซ่าให้แก่นักท่องเที่ยวจากบางประเทศ คนละ ๑,๐๐๐ ดีแรมห์ ซึ่งโรงแรม/บริษัทฯ สามารถรับเงินประกันนี้คืนได้ หากนักท่องเที่ยวคนดังกล่าวเดินทางออกจากยูเออีภายในกำหนดเวลา

4. วีซ่าเดินทางผ่าน (Transit Visa) ซึ่ง อนุญาตให้เดินทางเข้ายูเออีได้ไม่เกิน ๙๖ ชั่วโมง โดยมีสายการบินเป็นผู้อุปถัมภ์และดำเนินการขอวีซ่าให้ ซึ่งแต่เดิมที่ไม่เสียค่าธรรมเนียมนั้น จะคิดค่าธรรมเนียม ๑๐๐ ดีแรมห์ต่อคน โดยจะต้องแสดงบัตรโดยสารเครื่องบินที่จะเดินทางต่อไปยังประเทศที่สามด้วย

5. Mission Entry Visa พำนักอยู่ได้ ๓ เดือน คิดค่าธรรมเนียม ๒๐๐ ดีแรมห์ ในขณะที่ Entry Visa for domestic workers accompanying GCC citizens คิดค่าธรรมเนียม ๑๐๐ ดีแรมห์ อยู่ได้ ๑ เดือน และสามารถขยายระยะเวลาได้อีกหนึ่งครั้ง โดยเสียค่าธรรมเนียม ๒๐๐ ดีแรมห์

6. ได้ มีการระบุให้ ผู้เดินทางเข้ายูเออีทุกคนจะต้องมีการประกันสุขภาพที่มีผลบังคับใช้ตลอดช่วง เวลาที่พำนักอยู่ในยูเออี อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า จะใช้อะไรเป็นหลักฐานของการมีการประกันสุขภาพนี้ได้บ้าง

7. จนท.กรม NRD แจ้ง ว่า การปรับปรุงระเบียบและค่าธรรมเนียมวีซ่าข้างต้นนี้ ก็เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการละเมิดที่ผ่านๆ มา โดยเฉพาะ เข้ามาหางานทำของผู้ที่เข้ามาด้วยวีซ่าเยี่ยมเยือน และเป็นการปกป้องสิทธิของแรงงานต่างชาติอีกทางหนึ่ง ซึ่งที่ผ่านมานายจ้างบางรายนำแรงงานเข้ามาด้วยวีซ่าแบบเยี่ยมเยือน ซึ่งเป็นการรอนสิทธิของลูกจ้างในเรื่องค่าจ้าง การประกันสุขภาพ และค่าบัตรโดยสารเครื่องบินระหว่างประเทศ

***ลูกค้าสามารถติดต่อขอทำ VISA กับทางเราได้ 5วัน ทำการหรือ จันทร์ - ศุกร์***
COPYRIGHT © 2017 GDS GROUP TRAVEL CO.,LTD ALL RIGHTS RESERVED.